โรคนิ้วล๊อค (Trigger finger)



 โรคนิ้วล๊อค

ลักษณะของโรค
มีการอักเสบบริเวณปลอกหุ้มเส้นเอ็นด้านฝ่ามือ ซึ่งถ้าการอักเสบเป็นมากขึ้นจะทำให้ปลอกหุ้มเส้นเอ็นมีการหนาตัว และเส้นเอ็นนูนขึ้นเรียกว่า nodule ได้ เมื่อ nodule นี้โตขึ้นทำให้การขยับของเส้นเอ็นผ่านใต้ปลอกหุ้นเส้นเอ็นทำได้ลำบาก เกิดสะดุดเรียกว่า triggering หรือนิ้วล๊อคขึ้น

สาเหตุ ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่ามีสาเหตุเกิดจากอะไร
ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการใช้งานของนิ้วมือที่มากเกิน มีการเกร็งนานๆ หยิบจับ หรือหิ้วของนานๆ
ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากกรรมพันธุ์

อาการ
เริ่มแรก จะเริ่มมีอาการปวดเวลาขยับนิ้วที่เป็น อาจเหยียดได้ไม่สุด อาจมีความรู้สึกสะดุดเวลากำมือ หรือแบมือ อาจคลำได้ก้อนนูนบรเวณโคนนิ้ว

ความรุนแรงแบ่งออกเป็น 4 ระยะคือ
  1. มีอาการปวดนิ้วมือ โดยเฉพาะบริเวณโคนนิ้ว
  2. มีความรู้สึกสะดุด แต่ยังกำมือ แบมือได้เต็มที่
  3. กำมือ หรือแบมือได้ไม่สุด ต้องใช้มืออีกข้างช่วยเวลา กำ-แบ
  4. ไม่สามารถกำมือได้ 

การรักษา
  • ถ้ามีอาการน้อยแนะนำใช้พักการใช้งานของนิ้วมืออาจใส่เฝือกดามบริเวณนิ้ว แช่ในน้ำอุ่น เช้า-เย็นครั้งละประมาณครึ่งชั่วโมง และรับประทานยาแก้อักเสบ-แก้ปวด
  • ถ้ามีอาการมากขึ้นหรือใช้วิธีข้างต้นแล้วไม่ดีขึ้น ใช้วิธีฉีดยาลดการอักเสบเข้าบริเวณปลอกหุ้มเส้นเอ็น ซึ่งมักต้องใช้การรักษาในข้อ 1 ร่วมด้วย ประมาณร้อยละ 50 ของผู้ป่วยจะหายจากอาการนิ้วล๊อคหลังจากฉีดยาเข็มแรก ส่วนอีกร้อยละ 25 จะหายหลังจากการฉีดยาเข็มที่สอง
  • ถ้ากำมือไม่ได้เลยหรือใช้วิธีการฉีดยาแล้วไม่ดีขึ้น ให้เลือกใช้วิธีการผ่าตัด
การผ่าตัด
             ทำได้โดยวิธีการฉีดยาชาเฉพาะที่ มีแผลผ่าตัดยาวประมาณ 1 เซนติเมตร หลังผ่าตัดสามารถกลับบ้านได้ทันที ไม่จำเป็นต้องรักษาตัวอยู่ภายในโรงพยาบาล ปิดผ้าพันแผลไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น