โรคเก๊าท์ (Gout)


โรคเก๊าท์ (Gout)

 เก๊าท์   เป็นภาวะข้ออักเสบที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะกรดยูริกในเลือดสูง
ผู้ชาย มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเก๊าท์มากกว่าผู้หญิง 20 เท่า และมักจะพบในผู้ชายอายุมากกว่า 40 ปี
ส่วนในผู้หญิงจะพบได้บ่อยเมื่ออายุมากกว่า 50 ปีหรือ ช่วงวัยหมดประจำเดือน

โรค เก๊าท์เป็นโรคเรื้อรัง แต่ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มเป็น หลีกเลี่ยงสาเหตุนำที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบ และรับประทานยาติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอ

อาการ และอาการแสดง
มีการอักเสบของข้อนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อเข่า หรือข้ออื่น ๆ เป็น ๆ หาย ๆ
การอักเสบมักเป็นอย่างฉับพลัน มักมีอาการหลังตื่นนอน โดยข้อที่อักเสบจะบวม แดง ร้อน และ ปวดมากชัดเจน บางคนอาจจะมีไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว
ถ้าไม่ได้รับการรักษา การอักเสบจะเป็นถี่ขึ้น นานขึ้น เป็นหลายข้อพร้อมกัน และกลายเป็นข้ออักเสบเรื้อรัง ข้อผิดรูป และ สูญเสียการใช้งานอย่างถาวรได้
ผู้ป่วยจะมีโอกาสเกิด นิ่วในไต และมีโอกาสเกิดไตวายได้
ในผู้ที่เป็นมานานก็อาจมีก้อน ซึ่งเกิดจากการตกผลึกของกรดยูริกใต้ผิวหนัง ในตำแหน่งต่าง ๆ เช่น ข้อศอก ข้อเท้า ใบหู

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคเก๊าท์
ประวัติความเจ็บป่วย อาการและอาการแสดงของการอักเสบ
เจาะน้ำในข้อเพื่อตรวจผลึกของกรดยูริก
ตรวจกรดยูริกในเลือด ปกติผู้ชายน้อยกว่า 7 mg% ผู้หญิงน้อยกว่า 6 mg%
เอ๊กซเรย์กระดูกหรือข้อ ในระยะแรกจะปกติ แต่ในรายที่เป็นมาก เป็นมานาน จึงจะพบความผิดปกติ

การ วินิจฉัยโรคเก๊าท์โดยอาศัย ประวัติ และลักษณะอาการแสดงเป็นหลัก ไม่ได้อาศัยการเจาะตรวจยูริกในเลือด ... ดังนั้น   
ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเจาะเลือดทุกคน เพราะถึงแม้ว่าเจาะเลือดแล้วมี กรดยูริกสูงแต่ไม่มีอาการ ก็ไม่ได้บอกว่าเป็นโรคเก๊าท์ ไม่ต้องรักษา แต่ถ้ามีประวัติ และอาการของโรคเก๊าท์ ถึงแม้ว่ากรดยูริกในเลือดไม่สูงก็จะรักษาแบบโรคเก๊าท์    
ร้อยละ 30 ของผู้ป่วยที่มีข้ออักเสบเฉียบพลันแบบโรคเก๊าท์ พบว่ามีระดับกรดยูริกในเลือดอยู่ในระดับปกติ

สาเหตุที่กระตุ้นทำให้เกิดการอักเสบ
- การบาดเจ็บ หรือ ข้อถูกกระทบกระแทก
- อาหารบางอย่างกระตุ้นให้เกิดการอักเสบขึ้น ควรหลีกเลี่ยง

- เนื้อสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ปีก เชน เป็ด ไก่ ห่าน นก เครื่องในสัตว์ น้ำต้มกระดูก ปลาซาร์ดีนกระป๋อง กะปิ ปลาอินทรีย์ 
- พืชบางชนิด ยอด ใบอ่อน เช่น ถั่วต่าง ๆ เห็ด กระถิน ชะอม ใบขี้เหล็ก สะตอ ผักโขม หน่อไม้ ผักคะน้า แตงกวา
- ของหมักดอง เหล้า เบียร์ หรือ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อื่น ๆ
- อากาศเย็น หรือ ช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง เช่น ช่วงเช้า หรือ ก่อนฝนตก เป็นต้น
- ยา เช่น แอสไพริน ยารักษาวัณโรค ยาขับปัสสาวะ
             
แนวทางการรักษา

1.หลีกเลี่ยงสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบ

2.ลดการใช้งานของข้อที่อักเสบ ถ้าในช่วงที่มีอาการปวด อาการอักเสบมาก อาจจำเป็นต้องใส่เฝือกชั่วคราว

3.รับประทานยา ซึ่งจะแบ่งเป็น
3.1 ยาบรรเทาอาการปวดลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
ยากลุ่ม นี้จะเป็นยาบรรเทาอาการปวด ลดการอักเสบเท่านั้นไม่ได้รักษาโรคโดยตรง จะใช้ในช่วงที่มีอาการปวด อาการอักเสบมาก  เมื่ออาการอักเสบลดลงก็ไม่จำเป็นต้องกินยากลุ่มนี้อีก ผลข้างเคียงที่สำคัญของยาทุกตัวในกลุ่มนี้คือ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ แสบท้อง เป็นแผลในกระเพาะอาหาร อาจพบอาการบวมบริเวณหน้า แขน ขา ได้

3.2 ยารักษาโรคเก๊าท์โดยเฉพาะ ในช่วงที่มีอาการอักเสบมาก ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ผิวหนังเป็นผื่นคัน ซึ่งถ้าเกิดมีอาการข้างเคียงมากก็จะต้องลดปริมาณยาลง หรือ หยุดยาไว้ก่อน

3.3 ยาลดการสร้างกรดยูริก และ ยาเพิ่มการขับถ่ายกรดยูริก ซึ่ง จะต้องรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานานอย่างน้อย 1-3 ปี ยากลุ่มนี้จะใช้เมื่ออาการอักเสบของข้อดีขึ้นแล้ว ขณะที่ใช้ยากลุ่มนี้ จะต้องดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันการเกิดนิ่วในไต
ยากลุ่ม นี้มีผลข้างเคียงคือ ผื่นผิวหนัง คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย วิงเวียนศีรษะ

4. ฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อที่อักเสบ จะใช้ในกรณีที่มีการอักเสบอย่างรุนแรง เท่านั้น

...โรคเก๊าท์สามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้ารักษาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาช่วงหนึ่ง..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น